วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผังมโนทัศน์


บทวิเคราะห์
         บทละครเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง สามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านต่างๆได้ดังนี้
คุณค่าทางด้านเนื้อหา
๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีให้ต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม
๒)   ตัวละคร ในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง มีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญปรากฏอยู่มาก ตัวละครมีบุคลิกนิสัยที่โดดเด่นและแตกต่างกัน อ่านเพิ่มเติม




ความรู้เพิ่มเติม
           อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก


ข้อคิดที่ได้รับ
๑.ความรักและความหลงใหลควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักและควาหลง
๒.รักษาคำสัตย์ การรู้จักรักษาคำพูดเมื่อพูดอย่างไรก็ต้องทำตาม
๓.ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู
๔.การรู้จักให้อภัย การไม่ถือโทษโกรธแค้นกันและกัน
๕.ความรักในศักดิ์ศรี การมีขัตติยมานะหรือความสำนึกในเกียรติแห่งวงศ์ขอตนเอง


วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

            1.เพื่อใช้เล่นละครใน ละครในเป็นละครที่เล่นกันในวัง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนๆ
ท่าทางร่ายรำงดงาม อ่อนช้อย เครื่องแต่งกายประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
คำร้องและทำนองเพลงไพเราะ
           2. เพื่อป้องกันการสูญหาย และรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป ดังปรากฏในบทนำว่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง จุดมุ่งหมาย
ลักษณะการแต่ง
          กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก


ที่มาและความสำคัญ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ที่มา